วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สุขภาพดีกับนิวทริไลท์

สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์
คาร์ล เอฟ. เรห์นบอร์ก ผู้ก่อตั้งนิวทริไลท์
เป็นบุคคลแรกที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างอาหาร หลากชนิดกับสุขภาพโดยรวมและพลังในการดำเนินชีวิตโดยในปี 1915 ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอาหารและวิถีการดำรงชีวิตของชาวจีนท้องถิ่น พบว่าผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผืนดินและรับประทานผักผลไม้ และธัญพืช ในปริมาณมาก มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพดีกว่าผู้ที่อาศัยในเมืองใหญ่ การค้นพบประโยชน์ของสารอาหารที่สกัดจากพืชหรือที่เรียกว่า “ไฟโตนิวเทรียนท์” ในครั้งนี้จึงเป็นที่มาของการคิดค้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆภายใต้แบรนด์ “นิวทริไลท์” ในเวลาต่อมา

เราทุกคนล้วนแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งสิ่งนั้นก็คือการรับประทานผักและผลไม้หลากชนิดทุกวัน แต่บ่อยครั้งที่เรากลับรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่ต้องรับประทานผักและผลไม้ให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำเป็นประจำทุกวัน นิวทริไลท์คือ ผู้นำด้านไฟโตนิวเทรียนท์
Why Supplementation?
นอกจากนั้น ปัจจัยอื่นๆ เช่น มลพิษการพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกายและความเครียด ล้วนเป็นเหตุให้จำเป็นต้องเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายด้วยการรับประทานวิตามิน เกลือแร่และไฟโตนิวเทรียนท์
     เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างสมดุลอันนำมาซึ่งสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ผลิตภัณฑ์นิวทริไลท์ จึงผลิตจากอาหารที่อุดมด้วยไฟโตนิวเทรียนท์ เช่นอัลฟัลฟาวอเตอร์เครสพาร์สลีย์ อะเซโรลาเชอร์รี เป็นต้น
     ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในฟาร์มชีวภาพปลอดสารพิษของเราที่ผ่านการรับรอง จากผลงานวิจัยด้านโภชนาการและความชำนาญที่สั่งสมมานานกว่า 75 ปี เรามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเราผลิตตามมาตรฐานคุณภาพอันเข้มงวดทั้งในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

     คาร์ล เอฟ เรห์นบอร์ก ก่อตั้งศูนย์โภชนาการและสุขภาพเรห์นบอร์ก ในปี 2539
และได้พัฒนามาเป็นสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute; NHI)ในปี 2545 ณ เมืองบูเอน่า พาร์ค รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีดร.แซม เรห์นบอร์ก บุตรชายของคาร์ล ดำรงตำแหน่งประธานสถาบัน ปัจจุบันได้เปิดศูนย์สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Center for Optimal Health; COH) บนพื้นที่34,000 ตารางฟุต เพื่อเป็นศูนย์ประเมินผลด้านสุขภาพ ห้องประชุม ห้องบรรยาย และจัดแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์นิวทริไลท์ ประวัติความมา และวิทยาการด้านต่างๆ

สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์..  ดูวิดีโอ
.
ประตูสู่แบรนด์นิวทริไลท์
ด้วยความร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักวิชาการกว่า 100 คน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น โภชนาการ วิทยาศาสตร์การอาหารพฤกษศาสตร์ เคมี เภสัชศาสตร์ เกษตรกรรม ชีววิทยา สรีรวิทยา และการแพทย์ ทำให้สถาบันนิวทริไลท์สามารถสนับสนุนแบรนด์นิวทริไลท์ผ่านวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นเรื่องผลิตภัณฑ์ การวิจัย และการฝึกอบรม ทั้งยังให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ วิทยาศาสตร์โภชนาการ และสุขภาพแก่นักธุรกิจแอมเวย์ทั่วโลกเพื่อช่วยให้ผู้คนทั้งหลายสามารถปรับปรุงโภชนาการของพวกเขาและก้าวไปสู่เป้าหมายแห่งการมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด
ข้อมูลหลัก

จิตแจ่มใส ปราศจากโรคภัย
     คงไม่ใช่เรื่องของความโชคดีเป็นแน่ แต่เป็นเรื่องของการดูแลใส่ใจเฉพาะตัวบุคคลต่างหากสุขภาพดีต้องดูแลถึงจะอยู่กับเรา ไปนานเท่านาน สุขภาพจะดีแค่ไหนประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยหลักคือ “ปัจจัยส่วนบุคคล” และ “ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยส่วนบุคคล
ได้แก่ พันธุกรรม เพศ อายุ และวิถีการดำเนินชีวิต จะเห็นว่าพันธุกรรม เป็นสิ่งที่เราเลือกไม่ได้เพราะบรรพบุรุษให้ติดตัวมาแต่กำเนิด เพศและอายุ ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่ง “วิถีการดำเนินชีวิต” เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ พันธุกรรม เพศ อายุ และความสมบูรณ์ของสุขภาพมากที่สุด เพราะถ้ามี วิถีการดำเนินชีวิตที่ดีก็อาจช่วยชะลอโรคจากพันธุกรรม ชะลอ ความเสื่อมตามวัยได้ ที่สำคัญคือเราสามารถกำหนดรูปแบบวิถีการ ดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนแปลงได้และควบคุมได้ด้วยตัวเราเอง
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
ไม่ว่าจะเป็นอากาศ น้ำ ระบบสุขาภิบาล สภาพแวดล้อมทางชีวภาพสภาพแวดล้อมทางสังคม ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของเราเช่นกันและก็มีทั้งส่วนที่เราสามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
สมดุลของชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกอาหารการกิน การออกกำลังกาย
การนอนหลับพักผ่อน ความสัมพันธ์ในสังคม อยู่ในสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสม ตลอดจนวิธีคิดที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ดังนั้นจะเห็นว่า
สิ่งเหล่านี้คือ “วิถีการดำเนินชีวิต” ที่มีบทบาทต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่เราควบคุมได้
เกือบทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ขยันออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง นอนหลับ
ให้พอเพียงทุกวัน ซึ่งแต่ละคนต้องการจำนวนชั่วโมงการนอนไม่เท่ากัน การจัดการสภาพแวดล้อม
รอบตัว (ที่สามารถควบคุมได้) ให้ถูกสุขอนามัยปรับมุมมองและวิธีคิดบวกเสริมสร้างจิตใจด้านดี
อีกทั้งผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้เราสามารถปรับเปลี่ยนและปรับปรุงเพื่อให้มี
คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ และในทางเดียวกันนั้นเอง ถ้าปรับวิถีการดำเนินชีวิตด้านต่างๆให้ดีแล้ว
แต่ไม่ใส่ใจเรื่องอาหารการกินยังตามใจปากแต่ลำบากกายแบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะการ
มีสุขภาพที่ดีต้องรวมถึงมีโภชนาการที่สมดุลด้วย เสริมสร้างสุขภาพ
 “รักษา-เสริมสร้าง-ป้องกันสุขภาพของเรา” ให้ดีได้ตลอดไปต้องได้รับสารอาหาร
ทางโภชนาการอย่างพอเพียงสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันมีด้วยกัน 6 กลุ่ม
ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และยังมี “กลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์”
ซึ่งเป็นพฤกษเคมีที่มีอยู่ในพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย
เราอย่างมากอีกด้วย


     ปัจจุบันมีโรคภัยร้ายแรงเกิดขึ้นมากมาย แต่ที่ถูกกล่าวขานว่าร้ายแรงและเฉียบพลันที่สุด ก็คือ “โรคหัวใจและหลอดเลือด” เพราะมะเร็งที่ว่าร้ายกาจ คุณก็ยังทราบล่วงหน้าถึงโรคภัยที่เกิดกับคุณ แต่โรคหัวใจเปรียบเสมือนมหัตภัยมืดที่สามารถจู่โจมคุณได้ตลอดเวลา โดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัวล่วงหน้าและไม่ทันได้บอกลาใครเลย...
“การป้องกัน” จึงเปรียบเสมือนการรักษาที่ดีที่สุด แล้วเราจะป้องกันอย่างไร? คำตอบสุดท้ายคือ “ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง” และ “มีโภชนาการที่สมดุล


น้ำมันปลา (Fish Oil)

     มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงชนิดโอเมก้า 3 ที่สำคัญ 2 ชนิดคือ อีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) พบมากในเนื้อและหนังปลาทะเลหลายชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลา-ทูน่า ปลาเทร้าท์ ปลาแมคเคอเรลหรือกลุ่มปลาทู ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เลซิติน (Lecithin)
     เลซิตินสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและน้ำมัน มีหน้าที่หลักคือสร้างสารไลโปโปรตีน เพื่อการขนส่งไขมันทั้งไตรกลี-เซอไรด์และโคเลสเตอรอลในเลือด เลซิตินส่วนใหญ่ได้มาจากการสกัดจากถั่วเหลือง ซึ่งให้เลซิตินชนิดที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในสัดส่วนที่สูง



 กระเทียม (Garlic)
    กระเทียมให้รสชาติเผ็ดร้อนและกลิ่นเฉพาะตัวมีไฟโตนิว-เทรียนท์หลายชนิดมนุษย์รู้จักการใช้กระเทียม เพื่อการรักษาโรคมานานนับพันปีสารในกระเทียมช่วยออกฤทธิ์ป้องกันโรคหลอดเลือดได้

 ชาเขียว (Green Tea)
     ชาวญี่ปุ่นที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจึงมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ เนื่องจากชาเขียวมีองค์ประกอบของสารไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิดที่ให้ผลต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สารสำคัญที่พบคือ อีจีซีจี (EGCG) หรือ แคททิชิน (Catechin)


 โคเอนไซม์คิวเท็น (Co Q10)
       โคเอนไซม์คิวเท็นมีส่วนสำคัญในกลไกการสร้าง ATP ในไมโตคอนเดรีย เพื่อสร้างพลังงานให้เซลล์ หัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง เพราะต้องทำงานตลอดเวลา เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจึงมีไมโตคอนเดรียปริมาณสูงมากกว่าเซลล์อื่น เป็นผลให้ความต้องการโคเอนไซม์คิวเท็นสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจมีประสิทธิภาพ

วิตามินบีคอมเพล็กซ์ (Vitamin B Complex)
     สารอาหารกลุ่มวิตามินบีหลายตัวมีส่วนช่วยในการป้องกันความผิดปกติของระบบเมแทบอลิซึม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน การสันดาปสารอาหารในร่างกาย ช่วยให้หลอดเลือดหัวใจทำงานปกติ เช่น กลไกการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด กลไกการเกิดภาวะอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารอาหารกลุ่มวิตามินบี 3 (ไนอะซิน) วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และโฟเลต




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น