วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


กระเทียม
เป็นเครื่องเทศและพืชสมุนไพรเก่าแก่ที่รู้จักมานานมากกว่า 6,000 ปี ไม่ว่าจะเป็นชาวอารยธรรมโบราณอย่างชาวอียิปต์ ที่ให้คนงานรับประทานกระเทียมเพื่อเพิ่มพละกำลังระหว่างการสร้างพีระมิด1 อินเดียและจีนที่ตระหนักถึงคุณค่าทางสารอาหารของกระเทียมและนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และรักษาโรคต่างๆ จนกระทั่งในปัจจุบัน
กระเทียมก็ยังคงเป็นเครื่องปรุงหรืออาหารที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลก
     ในกระเทียม 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี (kcal) และให้คุณค่าทางอาหารดังนี้ น้ำ58.6กรัมฟอสฟอรัส153มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต33.1กรัมโพแทสเซียม401มิลลิกรัม โปรตีน6.4กรัมซีลีเนียม14.2ไมโครกรัม ไขมัน0.5กรัมวิตามินซี31.2มิลลิกรัม แคลเซียม181มิลลิกรัมโฟเลท3.1ไมโครกรัม แมกนีเซียม25มิลลิกรัมใยอาหาร2.1กรัม
นอกจากนี้ยังมีไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ไฟโตนิวเทรียนท์ในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์ (Organosulfur) ได้แก่
สารอัลลิซิน (Allicin) ที่เป็นองค์ประกอบหลักของไฟโตนิวเทรียนท์ ที่ให้กลิ่นเฉพาะตัว
ของกระเทียม โดยน้ำหนักกระเทียม 1 กรัม จะพบประมาณ 4.38-4.65 มิลลิกรัม
ทั้งนี้ปริมาณสารประกอบที่พบในกระเทียมมีปริมาณมากหรือน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ
ชนิดพันธุ์ ลักษณะดินที่ปลูก สภาพอากาศ และช่วงเวลาเก็บเกี่ยว
 
 เดิมทีกระเทียมจะไม่มีกลิ่นฉุน แต่ในเนื้อกระเทียมมีสารเคมีที่ชื่อว่า อัลลิอิน (Alliin)
อยู่ในปริมาณมาก เมื่อกระเทียมถูกตัดหรือทำให้เกิดรอยช้ำ สารเคมีกับเอนไซม์ในกลีบ
กระเทียมจะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนสารอัลลิอินให้กลายเป็นสารอัลลิซิน4 ซึ่งก่อให้เกิดกลิ่น
เฉพาะตัวในที่สุด
 
 สารสกัดกระเทียมและสารประกอบในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์ สามารถกระตุ้น
การทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระในตับ เช่น กลูทาไธโอนเปอร์-
ออกซิเดส (Glutathione Peroxidase) คะตาเลส (Catalase)
ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเตส (Superoxide Dismutase)5 ซึ่งผลจากการ
ทดลองในสัตว์พบว่า กระเทียมสามารถลดอาการข้างเคียงของยาไซโคลสปอริน
ที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ และทำให้เกิดพิษต่อไตและตับ
 
 กระเทียมช่วยป้องกันการเกิดไข้หวัดและช่วยลดอาการของไข้หวัด จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า
ผู้รับประทานกระเทียมที่มีสารอัลลิซิน 180 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ จะมีจำนวนวัน
ที่เป็นไข้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานกระเทียม แต่จำนวนวันที่หายขาดจากอาการไข้หวัดนั้น
ไม่แตกต่างกัน
 
 กระเทียมรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำมัน ผงแห้งและกระเทียมสด ต่างก็มีผลต่อการลด
ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด เนื่องจากสารเอส-อัลลิล-แอล-ซีสเทอีน ในกระเทียม
จะช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความ
สามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ดียิ่งขึ้น
• สารอัลลิซินในกระเทียมช่วยยับยั้งกระบวนการสร้างน้ำตาลกลูโคสจากตับ
   ส่งผลให้การเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง10
• เมื่อไฟโตนิวเทรียนท์ในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์ ดูดซึมสู่กระแสเลือดก็จะ
   ขัดขวางการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสกับเม็ดเลือดแดงฮีโมโกลบิน และ
   ขัดขวางการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสกับโปรตีนที่อยู่บริเวณผนัง
   หลอดเลือดแดงทั้งในไตและหัวใจ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการ
   อุดตันหลอดเลือด โรคไตและโรคหัวใจของผู้ป่วยเบาหวาน11
• มีการศึกษาว่า หากผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทานกระเทียมอัดเม็ด
   ขนาด 300 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน จะมีระดับน้ำตาลกลูโคสหลังอดอาหาร
   ลดลงถึง 32% และมีระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ลดลง 22%
   เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่ได้รับประทานกระเทียม
   อัดเม็ด12ทั้งนี้การรับประทานกระเทียมอัดเม็ดเพื่อลดระดับน้ำตาลกลูโคส
   และไขมันในหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็น
   ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายควบคู่กัน
 
 • กระเทียมกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตเพิ่มการขนส่งสารอาหารสู่อวัยวะ
   ต่างๆ ที่ทำงานหนักและอ่อนล้า โดยเฉพาะสมอง ปอด กล้ามเนื้อ และหัวใจ
• กระเทียมช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อขจัดของเสียที่เกิดขึ้นจากใช้งานหนักเป็น
   เวลานาน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ทำให้ร่างกายรู้สึกสบาย ช่วยฟื้นฟู
   สภาพร่างกายเมื่อเกิดความอ่อนล้า
 
 • จากการรวบรวมงายวิจัยพบว่า เมื่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรับประทาน
   กระเทียมทั้งในรูปสารสกัดผงแห้ง และน้ำมันกระเทียม ขนาดตั้งแต่ 600-
   2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่องอย่างน้อย 12 สัปดาห์ พบว่ามีค่าความดัน
   ซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) ลดลงเฉลี่ย 8.6 มิลลิเมตร-
   ปรอท และค่าความดันไดแอสโตลิก (Diatolic Blood Pressure)
   ลดลงเฉลี่ย 7.3 มิลลิเมตรปรอท เมื่อเทียบกับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง
   ที่ไม่ได้รับประทานกระเทียม
 
 • จากการวิจัยพบว่า การรับประทานกระเทียมติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
   จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
   อย่างไรก็ตาม เพื่อลดระดับโคเลสเตอรอลได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็น
   ต้องควบคุมอาหารและการออกกำลังกายร่วมกันเป็นประจำ
 
 • เอนไซม์ไซโคลออกซีจีเนส (Cyclooxygenase) ในกระเทียม ซึ่งเป็น
   เอนไซม์ที่มีบทบาทในการสังคราะห์พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)
   จะทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด
 
 หากร่างกายมีระดับโฮโมซีสเทอีน (Homocysteine) ในเลือดที่สูงเกินไป
จะเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหายและเกิดก้อนเลือดอุดตัน
ในหลอดเลือด เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองแตก
(Brain Stroke) ทั้งนี้การรับประทานกระเทียมจะช่วยลดระดับโฮโมซีสเทอีน
ในเลือดได้ในภาวะการขาดโฟลิก17 หากรับประทานกระเทียมเป็นประจำช่วย
ชะลอการเกิดภาวะแคลเซียมสะสมในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งภาวะนี้เป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่ทำให้หลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง
 
 การรับประทานกระเทียมอาจทำให้มีลมหายใจและกลิ่นตัวเหม็น ด้วยเหตุนี้บริษัทผู้ผลิตอาหาร
และยาบางรายจะผสมชะเอมเทศหรือลิคอริซ (Liquorice) เพื่อกลบกลิ่นและรสชาติที่ไม่พึง
ประสงค์ และยังสามารถให้ประโยชน์ทางยาอีกด้วย เช่น รากหรือเหง้าของชะเอมเทศมีสาร
ในกลุ่มไกลเซอร์ไรซิน (Glycyrrhizin) ที่มีสรรพคุณช่วยดับกระหาย มีฤทธิ์รักษาแผลใน
กระเพาะอาหาร ต้านเชื้อไวรัส และปกป้องตับจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
 
 • การรับประทานกระเทียมปริมาณมากในขณะท้องว่างอาจทำให้แสบกระเพาะอาหาร
   คลื่นไส้และท้องอืดได้ บางคนเมื่อผิวหนังสัมผัสกระเทียมอาจเกิดการระคายเคือง
   แพ้ มีอาการคันและมีผื่นแดงได้

• การรับประทานกระเทียมปริมาณมากติดต่อกันนานเกิน 10 วัน จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิด
   ภาวะเลือดแข็งตัวช้า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับประทานยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด
   ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานกระเทียม เนื่องจากกระเทียมอาจเสริมฤทธิ์ให้เลือดแข็งตัวช้า
   และไหลไม่หยุดหากเกิดบาดแผล

• เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณสูง เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคไต
   และตับที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานกระเทียมติดต่อกันเป็นเวลานาน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น