วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

น้ำมันปลา


ร่างกายของมนุษย์สามารถสังเคราะห์กรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวได้ แต่ไม่
สามารถสังเคราะห์กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร เราจึงเรียก กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งนี้ว่า "กรดไขมันจำเป็น" (Essential fatty acids) เช่น กรดไขมัน กลุ่มโอเมก้า-3 และกลุ่มโอเมก้า-6

กรดไขมันจำเป็นจะถูกนำไปใช้ในการสร้าง พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin : PG) ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานหลายอย่างใน ร่างกาย เช่นระดับน้ำตาลในเลือด การเจริญเติบโต ของระบบประสาทและตา การแข็งตัวของเลือด ความดันโลหิต การบีบตัวของมดลูก การสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน การอักเสบ ความเจ็บปวด เป็นต้น
  
ลดการเกิดลิ่มเลือดในเลือด ช่วยควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตโดยกลไกเกี่ยวกับ พรอสตาแกลนดิน ช่วยควบคุมอาการอักเสบ ปวด บวม ของโรค ปวดข้อ รูมาตอยด์
ป้องกันการอักเสบของโรคผิวหนังบางชนิด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นโลหิตอุดตัน เฉียบพลัน
ลดความหนืดของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น มีกรดไขมันดีเอชเอที่สำคัญต่อการพัฒนาสมอง และเรตินาของดวงตา
 
คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของกรดไขมัน โอเมก้า-3 คือ ความสามารถในการลดการ อักเสบและยังส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) พบว่ามีการใช้กรด ไขมันโอเมก้า-3 ควบคู่ในการรักษาโรครูมา- ตอยด์บ้างในบางกรณีภายใต้การดูแลของ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยกลไกหลัก ในการลดการอักเสบของกรดโอเมก้า-3 คือ การส่งผลต่อการจำกัดสร้างสารที่ก่อให้เกิด การอักเสบที่ชื่อว่า Cytokines นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการใช้กรดไขมันโอเมก้า-3 เพื่อลดการอักเสบจากโรคทางเดินอาหาร
ผิดปกติซึ่งส่งผลให้เกิดการดูดซึมอาหาร ที่ผิดปกติและความผิดปกติอื่นๆ กรดไขมันโอเมก้า-3 มีบทบาทสำคัญต่อการลด ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยกรด ไขมันโอเมก้า-3 จะส่งผลในการลดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ และยังส่งผลต่อการต้องการ ลดระดับวีแอลดีแอลในเลือดอีกด้วย ช่วยส่งผล ในการลดการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด  ซึ่งเป็นต้นเหตุหรือปัจจัยก่อให้เกิดโรด หลอดเลือดตีบตันอย่างเฉียบพลันในสมอง หรือหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาและพบว่า การบริโภคปลาทะเล 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะส่งผลต่อการรักษาสุขภาพของหัวใจ

พบว่าหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรมักได้รับ คำแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบ ของดีเอชเอ และกรดอะโคคิโดนิก ซึ่งเป็น องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนา เซลล์สมองและการพัฒนาประสาทตาบริเวณ จอตาหรือเรตินาของตา

น้ำมันปลาสามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ผู้สูบบุหรี่ที่กินน้ำมันปลาทะเลจะสามารถป้องกันโรค
ถุงลมโป่งพองได้การรับประทานปลาที่มีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาของสมอง
และระบบประสาทอย่างสมบูรณ์ พร้อมมีความจำดีและเรียนรู้ได้รวดเร็ว น้ำมันปลาจะช่วยการทำงานของปอดในคนไข้โรคปอดเรื้อรังให้ทำงานได้ดีขึ้น น้ำมันปลาสามารถป้องกันการแพร่กระจายของ
มะเร็งลำไส้ใหญ่ น้ำมันปลายับยั้งการขยายตัวของมะเร็งปอด และลำไส้ใหญ่
โรคสมองเสื่อมและความจำเสื่อม (Alzheimer's disease and Dementia) จากการให้ DHA ติดต่อ
กัน 6 เดือน พบว่าอาการต่างๆ ดีขึ้น ความจำดีขึ้นช่วยตัวเองได้มากขึ้น เชื่อว่า DHA ไปกระตุ้นเซลล์
ประสาทที่เหลืออยู่ให้ทำงานดีขึ้น
ผู้ที่รับประทานปลาหรืออาหารทะเล 1 ครั้งต่อสัปดาห์ พบว่าลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ถึง 50% ในขณะที่ผู้เสริมระดับกรดไขมันโอเมก้า-3 ในระดับ ผิวของเม็ดเลือดแดงจะลดความเสี่ยงในการเกิด โรคหัวใจได้ถึง 70% การศึกษาให้กรดไขมันอีพีเอ (EPA) ในปริมาณสูงติดต่อกัน 3 เดือน พบว่าปริมาณของไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น